วันศุกร์ที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2558

จากหลักการพูด ของพระองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า

 
๑.  คำพูดที่ไม่จริง     ไม่ถูกต้อง          ไม่เป็นประโยชน์       
     ไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่ชอบใจของผู้อื่น    พระองค์ไม่กล่าว
 
๒.  คำพูดที่จริง     ถูกต้อง    ไม่เป็นประโยชน์    ไม่เป็นที่รัก 
     ไม่เป็นที่ชอบใจของผู้อื่น   พระองค์ไม่กล่าว
 
๓. คำพูดที่จริง  ถูกต้อง    เป็นประโยชน์      ไม่เป็นที่รัก 
    ไม่เป็นที่ชอบใจของผู้อื่น     พระองค์เลือกกาลกล่าว
 
๔.  คำพูดที่ไม่จริง      ไม่ถูกต้อง       ไม่เป็นประโยชน์       
     ถึงเป็นที่รัก  เป็นที่ชอบใจของผู้อื่น  พระองค์ไม่กล่าว
 
๕.  คำพูดที่จริง  ถูกต้อง    ไม่เป็นประโยชน์    ถึงเป็นที่รัก 
     เป็นที่ชอบใจของผู้อื่น    พระองค์ไม่กล่าว
 
๖.  คำพูดที่จริง    ถูกต้อง    เป็นประโยชน์     เป็นที่รัก 
     เป็นที่ชอบใจของผู้อื่น   พระองค์เลือกกาลกล่าว
 
 
 
 
 
 
องค์ประกอบของวาจาสุภาษิต
๑. วาจาที่กล่าวถูกต้องตามกาลเวลา
๒. วาจาที่กล่าวเป็นความจริง
๓. วาจาที่กล่าวอ่อนหวาน
๔. วาจาที่กล่าวเป็นประโยชน์
๕. วาจาที่กล่าวด้วยจิตเมตตา
 
 
 
 
 
 
เคล็ดลับการพูดของพระพุทธองค์
 
"อานนท์ การแสดงธรรมให้คนอื่นฟัง มิใช่สิ่งที่กระทำได้ง่าย ผู้แสดงธรรมแก่คนอื่น พึงตั้งธรรม ๕ อย่างไว้ในใจ คือ"
 
๑. เราจักกล่าวชี้แจงไปตามลำดับ
๒. เราจักกล่าวชี้แจงยกเหตุผลมาแสดงให้เข้าใจ
๓. เราจักแสดงด้วยความเมตตา
๔. เราจักไม่แสดงด้วยเห็นแก่อามิส
๕. เราจักแสดงไปโดยไม่ให้กระทบตนและคนอื่น
 
 
 
 
ลีลาการพูดของพระพุทธองค์
 
๑.  สันทัสสนา    พูดอย่างแจ่มแจ้ง ให้เห็นประจักษ์ 
                       เหมือนกับเห็นด้วยตาตนเอง
 
๒.  สมาทปนา    พูดให้เห็นจริง จนคล้อยตาม เกิดความยอมรับ
                       และนำไปปฏิบัติ
 
๓. สมุตเตชนา    พูดให้เกิดความกล้าหาญมีกำลังใจ 
                       ให้เกิดความแข็งขัน พร้อมที่จะฝ่าฟันอุปสรรค
                       ขวากหนาม เกิดความมั่นใจตนเองว่าจะทำได้
 
๔. สัมปหังสนา   พูดให้เกิดความแช่มชื่น ร่าเริง แจ่มใส เบิกบาน 
                      ปลอดโปร่ง ไม่หดหู่ซบเซา มีความหวัง
 
"เมื่อตถาคตแสดงธรรมแก่ภิกษุทั้งหลาย 
ก็แสดงด้วยความระมัดระวังอย่างยิ่ง ไม่หละหลวม" 
"เมื่อแสดงธรรมแก่ภิกษุณีทั้งหลาย 
ก็แสดงด้วยความระมัดระวังอย่างยิ่ง ไม่หละหลวม" 
"เมื่อแสดงธรรมแก่อุบาสิกาทั้งหลาย 
ก็แสดงด้วยความระมัดระวังอย่างยิ่ง ไม่หละหลวม"
"แม้ที่สุดเมื่อแสดงธรรมแก่ปุถุชนทั่วไป เช่น คนขอทาน 
หรือพวกนายพรานทั้งหลาย ก็แสดงด้วยความระมัดระวังอย่างยิ่ง 
ไม่หละหลวม"
"เพราะเหตุไรเล่า เพราะเหตุว่าตถาคตเป็นผู้หนักในธรรม 

เป็นผู้เคารพธรรม"



 
ความหมายของคำว่า "วัด"
ความหมายของคำว่า"วัด" คำว่า "วัด" มีหลายความหมาย ที่ผู้อ่านคงเคยทราบมาแล้ว แต่ความหมายที่จะสื่อ ต่อไปนี้ เป็นอีกความหมายหนึ่ง ที่ค่อนข้างจะยังไม่มีผู้นำมาอธิบายเท่าไร 
หรือจะมีก็เป็นไปได้ ควาหมายของคำว่า"วัต" ในอีกแง่หนึ่ง หมายถึง "วะตะ" แปลว่า "หนอ" คำว่าหนอ แปลว่า "จุด" หรือ"ฟูสะต๊อบ" เป็นการสิ้นสุดคำตอบแล้ว (เป็นคำตอบสุดท้าย) 
เราไปวัด ก็คือไปหาคำตอบสุดท้าย คือ "จุด" หรือ "ฟูสะต๊อบ" นี่เอง คำว่า "วะตะ" หรือ "หนอ" นั้น ยังใช้กับการปฏิบัติธรรมด้วย วะตะ แปลได้ดังนี้
"สภาพที่เข้าไปตัด ห้าม,หรือต้านทานวัฏฏะ"เรียกว่า "หนอ" (วัฏฏะสังสารัง ตาเรตีติ =วโต) (หากจำไม่ผิดนะ) คือ เมื่อปฏิบัติตามนี้แล้ว จะพ้นวัฏฏะทุกข์ได้ (วัฏฏะ มี ๓ คือ ๑. กิเลสวัฏฏะ ๒. กรรมวัฏฏะ และ ๓ วิปากวัฏฏะ)



การนอน 2 อย่าง

ความหมาย"การนอน" การนอนในทางพระพุทธศาสนา สอนไว้ มีหลักใหญ่ๆ อยู่ ๒ อย่าง 
๑. การนอนของผู้ปฏิบัติธรรม ยึดเอาการนอนแบบพระพุทธเจ้าเป็นหลัก เรียกการนอนแบบนี้่ว่า "สีหไสยาสน์" คือการตะแคงขวาแบบพระพุทธเจ้า สีหไสยาสน์ หมายถึง การนอนแบบราชสีห์ ที่พร้อมจะลุกตะครุบเหยื่อ เฉกเช่นการนอนของผู้ปฏิบัติธรรม (ผู้เจริญสติ) พร้อมที่จะลุกได้ทันที อย่างสะดวก เพราะ พร้อมจะเอาแขนขวาค้ำกายลุกได้ทันที เหมือนกับราชสีห์
๒. การนอน แบบผู้เสพกาม หมายนถึง การนอนท่าใดๆก็ได้ นอกจากท่าของพระพุทธเจ้า คือการนอนตามสบาย ตามกิเลส พร้อมที่จะใช้แขนทุกแขนโอบกอด เรียกการนอนแบบนี้ว่า "กามไสยาสน์"

หากถามว่า การนอนแบบพระพุทธเจ้าของผู้ปฏิบัติธรรม ทำยาก จะนอนธรรมดาได้หรือไม่ ตอบว่า "ได้" ขอให้นอนอยางมีสติ ทั้งก่อนและหลัง แต่ก็จะไม่เรียกการนอนเช่นนั้นว่า การนอนแบบ"สีหไสยาสน์" และไม่เรียกว่า "กามไสยาสน์" เหมือนกัน เพราะผู้ปฏิบัติธรรม ย่อมถือศีล ข้อ ๓ อยู่แล้ว


 ผู้นอนน้อย มีดังนี้
๑. พระราชา ต้องตรวจดูสารทุกข์ของปวงประชา เป็นห่วงชาวประชาฯ
๒. ผู้ปฏิบัติธรรม ต้องหมั่นเจริญสติ ให้มาก

๓. โจร คอยจ้องจะลักของ รอให้คนหลับก่อน และ
๔. ผู้แต่งงานใหม่ ข่าวใหม่ปลามัน



ความหมายของคำว่า "สังฆทาน และ ภัณฑาคาร"

ความหมายสังฆทาน และคำว่า"ภัณฑาคาร"ๆ เป็นภาษาวินัย หมายถึง "โรงเก็บสังฆทาน หรือเก็บของๆพระ "ที่ญาติโยมนำมาถวายพระ" ซึ่งเป็นศิษย์ของพระ พระจะต้องดูแลเอง เมื่อญาติโยมนำมาถวายแล้ว พระจะต้องเก็บสังฆทานที่โยมถวาย ไปรวมกันไว้ในที่เก็บ (ภัณฑาคาร) ของพระ จากนั้น สงฆ์จะต้องมอบหน้าที่ให้พระรูปใดรูปหนึ่งดูแล ภาษาวินัย เรียกภิกษุรูปนั้นว่า "ภัณฑาริกภิกษุ" ภิกษุผู้ดูแลห้องเก็บของ หรือห้องเก็บสังฆทาน พระในวัดอยากได้สังฆทาน หรือสิ่งของไปใช้ จะต้องได้รับอนุญาตจากพระรูปนี้ หรือโยมอยากได้สิ่งของจากห้องนี้ ตามวินัย จะต้องขออนุญาตจากพระรูปนี้ ที่สงฆ์มอบหน้าที่ให้ หากไม่ทำตามนี้แล้ว ก็ยังถือว่า นั่น ไม่ถูกต้อง และ ไม่ใช่วิธีตามหลักวินัยของพระ เรียกว่า "นอกธรรม นอกวินัย" และของหรือเครื่องถวาย แบบนี้ วิธีการจัดการบริหารแบบนี้ เรียกสังฆทานตัวจริง หากไม่ทำแบบนี้ ไม่เรียกสังฆทาน เป็นปาฏิบุคลิกทาน (ทานถวายเจาะจง)

ปกติพระสอนว่า "ถ้าต้องการให้เป็นสังฆทาน จะต้องถวายแก่พระ ๔ รูป" ขึ้นไป และหากถามว่า ถวายแก่พระรูปเดียว จะถือว่า เป็น"สังฆทานได้หรือไม่ ตอบว่า "ได้" หากสงฆ์ลงมติให้พระรูปนันมารับแทน หรือโยมและพระรูปนั้น ตั้งเจตนาจะุถวายเข้ากองกลางสงฆ์ ไม่จำเป็นจะต้อง ถวายแก่พระ ๔ รูป ก็ได้ และพระรูปที่รับแทนนั้น จะต้องเอาไปเก็บเป็นของส่วนกลางสงฆ์จริงๆ จึงจะถือว่า เป็น"สังฆทาน"ได้ หากรับแทนแล้วนำไปแจกกัน ไม่ถือว่าเป็นสังฆทานได้เลย


ความหมายของคำว่า "โยม"

ความหมายของว่า"โยม" เป็นคำที่พระใช้เรียก ฆราวาส ทั้งชายและหญิง 
คำว่า"โยม" นอกจากจะมีความหมายตามพจนานุกรมราชบัณฑิตยสถาน แล้ว คำว่า"โยม" ตามรากศัพท์ หมายถึง "คนคู่" คือใช้เรียก ผู้ที่ไม่ใช่พระ (อนุปสัมบัน) ใช้เรียกได้ทั้ง ชายและหญิง คำว่า"คนคู่" นั้น อธิบายดังนี้ "ยะมะ" แปลว่า "คู่" เอาสะระ"อะ" ที่ "ยะ" เป็น สะระ "โอ" สำเร็จรูป เป็น "โยม" แปลว่า"คู่" หมายถึง คนคู่ หมายเอา ผู้มีคู่ครองเรือน หรือจะมีคู่ ในอนาคต หรือไม่มี ก็เรียกโยมได้ หมายถึงผู้ไม่บวช ไม่ใช่พระ